88/8 หมู่5 อำเภอเมืองสระบุรี
036-731289
อิฐ QBRICKS ดีอย่างไร
วิธีการใช้งานอิฐ Q-BRICKS

วิธีการก่อฉาบผนัง อิฐคอนกรีตตันมวลกลาง QBRICKS
QBRICKS:  Light & Medium Weight Solid Concrete Unit Masonry

 

1.ผลิตภัณฑ์ อิฐคอนกรีตตัน มวลกลาง QBRICKS

 

อิฐคอนกรีตตันมวลกลาง แบรนด์ อิฐQBRICKS ของ ห้างหุ้นส่วนจำกัด กิตติชัยวัสดุภัณฑ์ เป็นวัสดุก่อผนังมวลกลาง ที่จะต้องเป็นอิฐคอนกรีตตันทั้งก้อน ที่มีส่วนผสมของคอนกรีตซึ่งมีส่วนคละของขนาดเม็ดกรวด หรือหินหรือทราย ได้ส่วนสัมพันธ์กันตามมาตรฐานของผู้ผลิต ผลิตภัณฑ์ต้องได้รับมาตรฐานแสดงเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เลขที่ มอก. 2895-2564 ประเภท น้ำหนักเบา หรือ น้ำหนักปานกลาง จากสำนักมาตรฐานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ขนาดความกว้าง ยาว และสูงของก้อนคอนกรีตบล็อก จะมีส่วนผิดพลาดจากรายการที่กำหนดได้ไม่เกิน 3 มม. โดยมีคุณสมบัติ ดังนี้


1.1ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับอนุญาต ประเภทน้ำหนักเบา (Light Weight ) สัญลักษณ์ L  มีคุณสมบัติที่สำคัญ ดังนี้

-   ความหนาแน่นเฉลี่ยของอิฐ 1500  กก./ลบ.ม.
-   ความต้านแรงอัดสุทธิ(Compressive Strength, MPa ) แต่ละก้อน ไม่น้อยกว่า 5.5 MPa (N/mm2)
-   อัตราการกันไฟ(Fire Rating) ตามมาตรฐาน BS 476 ไม่ต่ำกว่า 4 ชั่วโมง ที่ความหนาผนัง 100 มม.
-   การนำความร้อน (Thermal Conductivity) ไม่เกิน 0.2 วัตต์/ม.-เคลวิน
-   ค่าการกั้นเสียง STC ไม่ต่ำกว่า 47

 

1.2ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับอนุญาต ประเภทน้ำหนักปานกลาง (Medium Weight) สัญลักษณ์ M มีคุณสมบัติที่สำคัญ ดังนี้
-   ความหนาแน่นเฉลี่ยของอิฐ  1850   กก./ลบ.ม.
-   ความต้านแรงอัดสุทธิ (Compressive Strength, MPa )แต่ละก้อน ไม่น้อยกว่า 7.0 MPa  (N/mm2)
-   อัตราการกันไฟ(Fire Rating) ตามมาตรฐาน BS 476 ไม่ต่ำกว่า 4 ชั่วโมง ที่ความหนาผนัง 100 มม.
-   การนำความร้อน (Thermal Conductivity) ไม่เกิน 0.465 วัตต์/ม.-เคลวิน
-   ค่าการกั้นเสียง STC ไม่ต่ำกว่า 45

 

 

2. ปูนซีเมนต์   


ปูนซีเมนต์   เป็นปูนซีเมนต์ผสม สำหนับงานก่อหรือฉาบทั่วไป ตามมาตรฐาน มอก.80-2550  สำหรับงานก่อให้ผสม ทรายหยาบ สัดส่วน 1:1.75 โดยปริมาตร   งานฉาบให้ผสมทรายละเอียด สัดส่วน 1: 2.25 โดยปริมาตร
ปูนก่อสำเร็จรูป    เป็นปูนก่อสำเร็จรูปชนิดแห้ง ทำหน้าที่ในการยึดเกาะก้อนอิฐ สำหรับงานก่อผนังอิฐคอนกรีต หรืออิฐมอญ ใช้งานได้ทันทีเมื่อผสมน้ำ  ตามมาตรฐาน มอก.598-2547 ปูนก่อสำเร็จรูปชนิดแห้ง ชนิด(50)
ปูนฉาบสำเร็จรูป   เป็นปูนฉาบผสมสำเร็จรูปที่ใช้สำหรับงานฉาบทั่วไป    ใช้งานได้ทันทีเมื่อผสมน้ำ ผสมเสร็จโดยไม่ต้องมีส่วนผสมเพิ่มได้อีก เหมาะสำหรับใช้ฉาบผนังอิฐคอนกรีตหรืออิฐมอญ ตามมาตรฐาน มอก. 1776-2542 (ฉาบทั่วไป)


การผสมปูนเพื่อใช้งาน(Mortar Mixing)

-ผสมปูนก่อสำเร็จรูป ในสัดส่วน 1 ถุง ต่อน้ำสะอาดประมาณ 12-14 ลิตร ผสมให้เข้ากันด้วยตัวปั่นปูนหรือเหล็กกวนปูนที่ต่อเข้ากับส่วนไฟฟ้าเวลา 2-3 นาที ให้ส่วนผสมเข้ากันได้ดี ก่อนนำไปใช้งาน

-ผสมปูนฉาบสำเร็จรูป ในสัดส่วน 1 ถุง ต่อน้ำประมาณ 10-12 ลิตร ผสมให้เข้ากันด้วยตัวปั่นปูนหรือเหล็กกวนปูนจนเนื้อเข้ากันดี

-ปูนที่ผสมไว้เกิน 3 ชั่วโมง ต้องทิ้งไป  ไม่นำมาผสมใหม่เพื่อนำกลับไปใช้ใหม่อีก

 

 

3. วิธีการก่อผนัง อิฐคอนกรีตตัน มวลกลาง QBRICKS

 

3.1การใช้เครื่องมือ  ได้แก่

- เกรียงก่อใบโพธิ์   สำหรับงานก่อ
- ค้อนยาง   สำหรับการปรับระดับอิฐก่อ   
- ค้อนเหล็ก,เหล็กฉาก,เหล็กเส้นข้ออ้อย หรือเครื่องมือช่างลูกหมู (หินเจียรไฟฟ้า)  สำหรับการตัด  แบ่ง ก้อนอิฐ
- ตัวปั่นปูน    สำหรับกวนปูนและปั่นปูน ให้เข้ากันดีกับส่วนผสมและน้ำ

 

3.2ทำความสะอาด 

บริเวณที่จะทำการก่อผนังอิฐQBRICKS  ห้ามมีฝุ่นหรือเศษขยะต่างๆ  กำหนดระยะตี     เส้นแนวก่อให้ถูกต้อง แล้วขึงแนวเส้นเอ็น  เพื่อช่วยให้ก่อได้ง่ายขึ้น

 

3.3การก่ออิฐ

 

3.3.1   การก่ออิฐแถวแรก ใช้ปูนทรายทั่วไป วางลงไปตามแนวที่จะก่อเพื่อช่วยปรับระดับพื้นให้ได้แนวระนาบ เดียวกัน ความสูง 2-5 ซม.


3.3.2   วางก้อนอิฐลงไปบนปูนทราย ใช้ค้อนยาง และระดับน้ำช่วยจัดให้ได้แนว และระดับที่ถูกต้อง 
หมายเหตุ :   ให้ใช้ระดับน้ำเช็คปรับระดับอิฐทุกก้อน


3.3.3    การวางอิฐ ให้วางอิฐด้านมีร่องไว้ด้านล่าง หรือหงายอิฐด้านเรียบขึ้นด้านบน  ทั้งนี้เพื่อให้การใส่ปูนก่อลงบนร่องได้สะดวก ตรงแนวและเต็มร่อง


3.3.4    เริ่มก่ออิฐก้อนที่ 2  โดยป้ายปูนก่อ บริเวณด้านข้างของก้อนอิฐ  หนาประมาณ 1 ซม.แล้ววางอิฐก้อนที่2 ลง ไปให้ชิดกับก้อนแรก ใช้ค้อนยางเคาะให้ชิดกัน ตรวจเช็คระดับน้ำทุกครั้ง ทำเช่นนี้กับก้อนที่ 3,4 ไปจนก่อจบแถวนี้


3.3.5    การก่ออิฐแถวที่2 ควรก่ออิฐแถวแรกให้เสร็จทั้งหมดก่อน แล้วจึงเริ่มก่อแถวที่ 2    เมื่อเริ่มก่อแถวที่ 2   ให้ป้ายปูนทรายหรือปูนก่อทั่วไปความหนา 1-2 ซม. บนก้อนอิฐแถวแรก ตามแนวอิฐเดิมแล้ววางอิฐลงไปบนปูนก่อ ทำเช่นนี้กับอิฐก้อนต่อไปจนครบแถว รวมถึงการก่อแถวต่อๆไปด้วย


3.3.6     การก่ออิฐแถวที่2   ให้ก่อด้วยวิธีสลับแนวระหว่างแถวชั้นล่างโดยให้แนวเหลื่อมกันครึ่งก้อน หรืออย่างน้อย 10 ซม. ก่อให้ได้แนว  ทั้งแนวตั้งและแนวนอน โดยป้ายปูนก่อให้ต่อเนื่องตลอดแนวไม่มีช่องว่าง      โดยไม่ต้องตอกเหล็กเส้น ใดๆ เพื่อยึดก้อนอิฐอีก
หมายเหตุ :   ถ้าทำให้อิฐเยื้องกันได้อย่างน้อย 15 ซม. ทุกแถวยิ่งดี


3.3.7   การตัดอิฐ     เมื่อจำเป็นต้องตัดก้อนอิฐ ให้วัดระยะให้พอดี แล้วตัดอิฐให้ได้แนวดิ่งฉาก   สามารถใช้เครื่องมือช่าง ลูกหมูตัดรอบอิฐ4 ด้าน ลึกอย่างน้อย 0.5 ซม.แล้วใช้ค้อนยางหรือค้อนเหล็กกระแทกให้ขาดจากกัน  หรือใช้เหล็กข้ออ้อยขนาด12มม.หรือเหล็กฉากความหนา2มม.ขึ้นไป โดยใช้ปลายเกรียงก่อกรีดแนวที่จะตัดบนผิวทั้งสองด้านของอิฐ แล้ววางเหล็กข้ออ้อยหรือเหล็กฉากตามแนวที่มีรอยกรีดนำ จากนั้นใช้ค้อนเหล็กกระแทกให้ขาด   
หมายเหตุ :   ผิวของก้อนอิฐที่ตัดแบ่ง อาจจะไม่เรียบ ในระยะ 1-1.5ซม.  สามารถใช้ค้อนแต่งขอบได้ และ  ใช้ก่อได้เลย  เนื่องจากปูนก่อของอิฐQBRICKS เป็นปูนซีเมนต์หรือปูนทรายทั่วไปที่มีความแข็งแรง           และมีความหนาของปูนก่อถึง1.5-3ซม. จึงไม่มีผลต่อความแข็งแรงของอิฐและปูนฉาบ


3.3.8    การก่ออิฐชนเสา    ที่ปลายก้อนอิฐที่ก่อชนเสาโครงสร้าง หรือเสาเอ็นจะต้องยึดด้วยเหล็กเส้น 6 มม. ความยาวไม่น้อยกว่า 25 ซม. โดยฝังลึกในเสาโครงสร้างไม่น้อยกว่า 10 ซม. โดยยึดทุกระยะก้อนเว้นก้อนหรือไม่เกิน 40 ซม. ผิวหน้าของเสา ค.ส.ล. ที่ก่ออิฐคอนกรีตตันมวลกลางจะต้องสะอาดและมีผิวขรุขระ โดยการสกัดปูนออกก่อนก่ออิฐ จะต้องรดน้ำผิวหน้าเสา ค.ส.ล. ให้เปียกเสียก่อน
หมายเหตุ :   แนวที่ใส่เหล็กเส้น สามารถวางบนร่องอิฐได้เลย ทั้งนี้ควรให้แนวเหล็กที่ฝังยึดกับเสาเป็นแนวนอนเส้นตรงเมื่อวางบนอิฐ


3.3.9    การก่ออิฐแถวสุดท้าย       ก่อนถึงท้องคานคอนกรีตหรือท้องพื้นทุกแห่ง  ให้ทิ้งช่องว่างอย่างน้อย 2-5 ซม.  แล้ว ทิ้งไว้ไม่น้อยกว่า 3 วัน จึงจะทำการปิดช่องได้  โดยอุดให้แน่นด้วย เศษอิฐ ปูน ทราย   ตลอดแนว
ผนังที่ก่อสูงไม่ชนท้องคาน หรือทุกแห่ง จะต้องมีทับหลัง คสล.


3.3.10    การก่อผนังที่ไม่ชนกับท้องพื้นโครงสร้างอาคาร    ซึ่งอาจมีการแอ่นตัวมากเป็นพิเศษ   เช่น  พื้นระบบ Post Tensioned หรือโครงสร้างเหล็ก จะต้องเว้นช่องว่างด้านบน ไว้ประมาณ 4-5 ซม. แล้วเสริมวัสดุที่มีความยืดหยุ่นตัวได้ เช่น โฟม เป็นต้น และหลีกเลี่ยงการฉาบชนท้องคาน แต่หากจำเป็นให้เซาะร่องไว้ตามแนวรอยต่อ
ผนังหรือกำแพงที่ก่อใหม่  จะต้องไม่ถูกกระทบกระเทือนหรือรับน้ำหนักใด ๆ  เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 24 ชม.  หลังการก่อเสร็จเรียบร้อยแล้ว


3.4เสาเอ็น-ทับหลัง คสล.

 

3.4.1หากพื้นที่ของผนังมีขนาดใหญ่   เกินมาตรฐานผลิตภัณฑ์ที่กำหนดไว้ จะต้องมีเสาเอ็น หรือคานเอ็น  คสล.  ขนาดอย่างน้อย 10 ซม. โดยใช้เหล็กเสริม 2 เส้น เส้นผ่านศูนย์กลางอย่างน้อย 9 มม. และมีเหล็กปลอกเส้นผ่านศูนย์กลาง 6 มม. ทุกระยะ 20 ซม. ปลายของเหล็กจะต้องฝังลึกในพื้น เสา หรือคานที่เป็นโครงสร้างหลัก ไม่น้อยกว่า 10 ซม.  สามารถใช้เหล็กทับหลังสำเร็จรูปได้  ตามรูปด้านล่าง

 

 

3.4.2พื้นที่ในการก่ออิฐ    โดยไม่ต้องมีเสาเอ็นทับหลัง คสล. ให้ใช้ตามตารางด้านล่างนี้

หมายเหตุ:     พื้นที่ในการก่ออิฐสำหรับผนังภายนอกและภายใน จะมีพื้นที่ไม่เท่ากัน

 

 

3.4.3         ในกรณีที่ผนังหรือกำแพงที่ยาวหรือสูงเกินกว่า 3.00 ม.      จะต้องมีทับหลัง หรือเสา เอ็น คสล. ขนาดหนาเท่าความหนาของผนัง หรือกำแพง และกว้างไม่น้อยกว่า 15 ซม. เสริมเส้นเหล็กผ่าศูนย์กลาง 6 มม. 2 เส้น เหล็กปลอกเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 มม. ทุกระยะห่าง 20 ซม. ทับหลังหรือเสาเอ็นจะต้องฝั่งลึกลงในพื้น,คาน หรือเสาด้านบนหรือด้านล่าง การเสริมเหล็กอาจทำโดยการฝั่งเหล็กขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 6 มม. 2 เส้น ให้โผลเตรียมไว้ในพื้น,คานหรือเสาก่อน \

3.4.4กรณีท้องพื้นโครงสร้างอาคารซึ่งอาจมีการแอ่นตัวมากเป็นพิเศษ เช่น พื้นระบบ Post Tensionedหรือ  โครงสร้างเหล็ก  ต้องทำคานเอ็น คสล.ขนาดอย่างน้อย 10 ซม. ที่พื้น ก่อนการก่ออิฐแถวแรก

  

3.4.5 มุมผนังหรือกำแพงทุกมุม   และผนังหรือกำแพงที่หยุดลอยโดยที่ไม่ติดกับเสา คสล. หรือตรงส่วนที่ ผนังหรือ กำแพงที่ติดกับวงกบจะต้องมีเสาเอ็น คสล. เหนือช่วงเปิดทุกแห่งที่ก่อผนังหรือกำแพงทับ    อยู่และใต้  วงกบ ช่องหน้าต่างจะต้องมีทับหลัง คสล. ขนาดของทับหลังต้องไม่เล็กกว่าเสาเอ็น

 

3.4.6 การยึดวงกบเข้ากับผนัง ยึดด้วยตะปูเข้ากับวงกบไม้ทุกชั้นของรอยต่อระหว่างชั้นอิฐ แล้วป้ายทับ  ด้วยปูนก่อ ก่อนวางทับอิฐลงไป แล้วอุดแนวรอยต่อข้างวงกบให้แน่นด้วยปูนก่อ ต้องทำเสาเอ็น คาน    คสล. โดยรอบ

 

3.5  การวางฝังท่อ งานระบบไฟฟ้าและปะปา


3.5.1การฝั่งท่อสายไฟและท่อประปา
-    กำหนดระดับบล็อกไฟฝังผนังให้เรียบร้อย      การติดตั้งบล็อกไฟไม่ว่าแนวตั้งหรือแนวนอน ให้มีระยะขอบบล็อกห่างกันไม่น้อยกว่า 4 ซม.
-    แนวเดินท่อไฟจะต้องได้ดิ่ง ได้แนวตลอด  ทุกท่อห้ามเอียง
-    ท่อไฟที่ต่อเข้าบล็อกไฟ ต้องใส่คอนเนคเตอร์ทุกตัว
-    ขีดเส้นที่จะฝั่งท่อเป็นสองแนว กรีดและตัดผนังอิฐตามเส้นที่ขีดไว้ให้ความลึกพอดี ไม่เกิน 1ใน 3 ของความหนาอิฐ   
-     สกัดเนื้ออิฐออก
-     ฝั่งท่อลงไปในร่อง แล้วตอกยึดให้แน่นด้วยตะปู โดยตอกสลับซ้ายขวา ปัดฝุ่นออกให้หมดแล้วอุดด้วยปูนทรายให้แน่น เต็มเสมอแนวท่อ    ทิ้งไว้ให้แห้งอย่างน้อย 48 ชม. แล้วปิดด้วยลวดตาข่าย ก่อนฉาบ

 

 

3.5.2การฝังท่อสายไฟและท่อ ในผนังสามารถใช้เหล็กเซาะร่องขูดออกตามแนว หรือเครื่องตัดไฟฟ้า เป็นร่องแนวลึก 2 แนว แล้วสกัดออก ทั้งนี้ไม่ควรลึกเกิน 1 ใน 3 ของความหนาของผนัง จากนั้นอุดปูนทรายให้แน่นเต็ม แล้วปิดทับด้วยตาข่ายกว้าง 200 มม. ตลอดแนวก่อนฉาบปูนทับ

 

 

3.5.3กรณีที่ทำการติดตั้งท่อร้อยสายไฟ และท่อน้ำไว้ก่อน ให้ก่อผนังห่างจากแนวท่อเล็กน้อยแล้วอุด  ด้วยปูนทราย กรณีที่ช่องใหญ่กว่า 5 ซม. ให้เทคอนกรีตตลอดแนวทาง หากเป็นท่อขนาดเล็กให้ใช้   วิธี  บากก้อน ฝั่งท่อให้อยู่ในเนื้ออิฐ แล้วติดทับด้วยตาข่ายขนาดกว้างไม่น้อยกว่า 200 มม. ตลอด  แนวก่อน  การทำฉาบ

 

4.การติดตั้งลวดตาข่าย  ใช้ลวดตาข่าย #4หุน

 

 

-มุมของวงกบประตู หน้าต่าง ให้ติดลวดตาข่ายขนาดอย่างน้อย 15x50 ซม. ติดให้ชิดมุมวงกบ ทั้งผนังด้านนอกและด้านใน  ให้ติดลวดตาข่ายก่อนจับเซี้ยม

-แนวต่อระหว่างอิฐQBRICKS กับเสาและคาน คสล. ให้ติดลวดตาข่ายขนาด กว้าง 15ซม. ยาวตลอดแนวเสาหรือคาน

-แนวรอยต่อระหว่างอิฐQBRICKS กับเสาเอ็นและทับหลัง คสล. ให้ติดลวดตาข่ายที่มีความกว้างให้คลุมเลยขอบของเสาเอ็นหรือทับหลังข้างละ 10 ซม.

-แนวท่อไฟฟ้า และท่อประปา ให้ติดลวดตาข่ายที่มีความกว้างคลุมเลยขอบท่อข้างละ 10 ซม.

-ช่องบล็อกไฟ ให้ติดลวดตาข่ายขนาดที่มีความกว้างคลุมเลยขอบบล็อกไฟด้านละ5ซม. โดยรอบทั้ง 4 ด้าน

 

5.การฉาบปูน

 

การเตรียมพื้นผิวก่อนฉาบ

 

1.ทำความสะอาดด้วยไม้กวาดปาดเศษผงหรือฝุ่นที่ติดอยู่บนผนังออกให้หมด ใช้แปรงตีน้ำ ห้ามฉีดน้ำให้ผนังชุ่มเกินไป ก่อนฉาบทันที
2.หากมีรอยแตกบิ่นของผนังให้อุดซ่อมก่อนด้วยปูนก่อทั่วไป  โดยผสมปูนก่อและน้ำผสมให้เข้ากันดีแล้วนำไปป้ายอุดจุดที่ต้องซ่อม ทิ้งไว้ให้แห้งก่อนฉาบอย่างน้อย 1 วัน
3.ปาดปูนก่อส่วนเกินออก บริเวณที่ปูนก่อล้นจากอิฐ
4.จับปุ่มก่อที่จะฉาบปูน หนาไม่เกิน 1.5 ซม.
5.เก็บขยะออกจากบริเวณผนังที่จะฉาบให้หมด เช่นเศษถุงปูน
6.ราดน้ำที่ผนังอิฐก่อนฉาบ ให้ชุ่ม เช่นเดียวกับผนังก่ออิฐทั่วไป  (ต้องรดน้ำให้ชุ่ม)
7.รอให้ผิวผนังดูดซับน้ำจนแห้งพอสมควร จึงเริ่มลงมือฉาบ

หมายเหตุ      หลังจากก่อผนังเสร็จควรทิ้งผนังไว้อย่างน้อย 1วัน  และรดน้ำที่ผนังให้ชุ่มตอนเย็นทิ้งไว้ 1คืน เพื่อให้ผนังแห้งพอสมควร แล้วจึงเริ่มฉาบในวันรุ่งขึ้น จะเหมาะสมมาก

 

 วิธีฉาบปูน

 

1.ความหนาปูนฉาบ 10-15 มม. โดยทำการฉาบเป็น 2 ชั้น ชั้นละประมาณครึ่งหนึ่งของความหนาทั้งหมด
2.เมื่อฉาบชั้นแรก แล้วทิ้งไว้ในผิวหน้าแห้งหมาด ปูนที่ฉาบต้องผสมต้องไม่เหลวจนเกินไป เพราะจะทำให้เกิดการย้อยของปูน เสียเวลารอให้หมาดนาน และเป็นสาเหตุของการแตกร้าว
3. ฉาบปูนชั้นที่2 ให้ได้ความหนาตามที่ต้องการ ปาดหน้าให้เรียบแล้วทิ้งไว้ให้ผิวหน้าแห้งหมาดมากๆ
4.ตีน้ำด้วยแปรงให้ทั่ว พอดีกับการปั่นหน้า กดเกรียงแรงๆแล้วขัดผิวหน้าให้เรียบก่อนลงฟอง
5.การฉาบปูนหนากว่า 20 มม. ต้องแบ่งฉากเป็นชั้นๆ ละประมาณ 10-20 มม. และติดลวดตาข่ายระหว่างชั้นปูน เพื่อป้องกันการแตกร้าว กรณีหนากว่า 40 มม. ขึ้นไป
6.ฉาบปูนเสร็จ จะต้องมีการบ่มน้ำโดยการฉีดน้ำเช้า เย็น ระยะเวลาในการฉีดน้ำ 7วัน

 

6. ข้อแนะนำอื่นๆ


1. หากผนังเปียกชุ่มน้ำมากเนื่องจากฝนตก ต่อเนื่องควรทิ้งไว้ให้แห้งไม่น้อยกว่า 1 สัปดาห์
2. ก่อนฉาบให้ทำการติดลวดตาข่ายตามคำแนะนำ เช่น มุมวงกบประตู,หน้าต่าง,รอยต่อเสาคาน,รอยต่อเสาเอ็น ทับหลัง
3. ปูนฉาบสามารถใช้รวมกับเครื่องผสม และเครื่องพ่นปูนฉาบได้
4. ควรป้องกันไม่ให้ผิวฉาบใหม่ สัมผัสกับแดดจัด หรือลมแรงโดยตรง
6. เมื่อฉาบผนังแล้วเสร็จ ควรบ่มผิวปูนฉาบอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 3-5 วัน

 

7. การทำความสะอาด


ต้องทำความสะอาดทุกแห่งที่เกี่ยวข้องหลังการติดตั้ง ด้วยความประณีตสะอาดเรียบร้อย ปราศจากคราบน้ำปูน คราบไคล หรือรอยเปรอะเปื้อนต่างๆ ก่อนส่งมอบงาน

 

8.  การรับประกันผลงาน

 

ต้องรับประกันคุณภาพของวัสดุ และการก่อ หากเกิดชำรุดเสียหายอันเนื่องจากคุณสมบัติของวัสดุและการก่อ ผู้รับจะต้องเปลี่ยนให้ใหม่ หรือซ่อมแซม ให้อยู่ในสภาพตามจุดประสงค์ของผู้ออกแบบ